Beyond Study Center เราให้คำปรึกษาการศึกษาต่อทุกระดับ สมัครเรียน ทำวีซ่า จองตั๋วเครื่องบิน ดูแลตลอดการเดินทาง

Queensland และ NSW เตรียมรับมือกับพายุหมุน Cyclone Oma

Queensland และ NSW เตรียมรับมือกับพายุหมุน Cyclone Oma

ทางชายฝั่งตะวันออกของออสเตรเลียเตรียมรับมือกับพายุ Cyclone Oma ที่กำลังพัดเข้าชายฝั่งหลังจากเคยเกิดขึ้นเมื่อ 30 ปีก่อน

สถานการณ์พายุไซโคลน หรือพายุหมุนเขตร้อนที่มีกำลังแรงจัด ซึ่งอาจส่งผลทำให้เกิดฝนตกหนักในออสเตรเลียที่เกิดขึ้นตอนนี้กำลังน่าเป็นห่วง หลังจากเมื่อปี 1990 ได้มีพายุ Cyclone Nancy เป็นพายุไซโคลนลูกสุดท้ายที่พัดเข้าถล่มเมือง Brisbane จนทำให้เกิดน้ำท่วมและการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณ Byron Bay coast

เมื่อเวลาตีห้าของวันที่ 21 ก.พ. 62 Cyclone Oma ได้เข้าใกล้บริเวณตะวันออกเฉียงเหนือของ Brisbane ในแถบ Coral Sea ระยะห่าง 900 กิโลเมตร โดยนับตั้งแต่เวลาตีห้าของวันก่อนหน้าเป็นเวลา 24 ชั่วโมง พายุได้เคลื่อนเข้ามาใกล้ชายฝั่ง 220 กิโลเมตร

พายุที่ว่านี้คาดว่าจะเคลื่อนไปทางตะวันตกเฉียงใต้ในช่วงไม่กี่วันถัดจากนี้ โดยทางสำนักอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ไว้ว่าพายุอาจจะไม่เคลื่อนเข้าชายฝั่งโดยตรง แต่ก็เข้าใกล้มากพอที่จะส่งผลกระทบต่อชายฝั่งของรัฐ Queensland และ New South Wales ได้

สำนักอุตุนิยมวิทยาคาดว่าจะมีพายุหมุนเกิดขึ้นภายใน 24 ชั่วโมงข้างหน้า / IMAGE : RAMSDIS

บริเวณที่ต้องเตรียมรับมือพายุ Cyclone Oma

มีการเฝ้าระวังว่าทางชายฝั่งตะวันออกของออสเตรเลียที่จะเกิดพายุ อาจมีบริเวณกว้างจาก Bundaberg ใน Queensland ยาวไปจนถึง Ballina ใน New South Wales

สำนักอุตุนิยมวิทยากล่าวว่าคลื่นทะเลขนาดใหญ่จากอิทธิพลของพายุ อาจทำให้เกิดอันตรายบริเวณ Fraser Island และชายฝั่งทางตอนเหนือของ Bargara ในช่วงบ่ายและช่วงเย็นของวันพฤหัสนี้ (21 ก.พ. 62) และจะยังคงส่งผลกระทบทางด้านชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของรัฐ Queensland และทางตอนเหนือของ New South Wales ไปจนถึงวันศุกร์

ขณะนี้ชายหาดใน Gold Coast และ Sunshine Coast ทั้งหมดได้ถูกสั่งปิดให้บริการแล้ว

การเตรียมพร้อมรับมือกับพายุไซโคลนบริเวณชายหาด Gold Coast / IMAGE : Dave Hunt – AAP

ผลกระทบของพายุ Cyclone Oma

ความรุนแรงของพายุขึ้นอยู่กับว่าพายุได้เข้าใกล้ชายฝั่งของ Queensland มากแค่ไหน

นอกจากลมแรงแล้ว พายุไซโคลนที่มีความรุนแรงอาจส่งผลให้เกิดอันตรายอื่นๆ ตามมา เช่น ฝนตกหนัก และน้ำท่วม ซึ่งฝนจะตกหนักรุนแรงขึ้นถ้าหากพายุมีการเคลื่อนที่ช้าลง หรือหยุดเคลื่อนที่อยู่บริเวณใดบริเวณหนึ่งของพื้นที่

ภาพด้านล่างแสดงให้เห็นถึงระดับความรุนแรงของพายุตามความเร็วลม หน่วยวัดเป็นกิโลเมตร/ชั่วโมง อ้างอิงตามข้อมูลของสำนักอุตุนิยมวิทยา

ยิ่งความเร็วลมมาก ความแรงของพายุยิ่งมากขึ้น / IMAGE : ABE Weather:Kate Doyle

ความแรงของพายุตอนนี้ลดระดับจาก Category 3 ลงมาอยู่ที่ Category 2 โดยทั่วไปแล้วการวัดระดับความแรงของพายุในออสเตรเลีย ระดับ 5 จะถือว่ารุนแรงที่สุด ด้วยความเร็วลมที่มากกว่า 280 กิโลเมตร/ชั่วโมง ส่วนระดับ 2 จะเป็นแค่ลมแรงที่มักจะเป็นอันตรายแค่บริเวณที่โล่งเปิดกว้างด้วยความเร็วลมประมาณ 125-164 กิโลเมตร/ชั่วโมง

Source: ABC News

อ่านบทความอื่นๆที่น่าสนใจ คลิก