Beyond Study Center เราให้คำปรึกษาการศึกษาต่อทุกระดับ สมัครเรียน ทำวีซ่า จองตั๋วเครื่องบิน ดูแลตลอดการเดินทาง

เตรียมตัวอย่างไร? เมื่อต้องเผชิญกับพายุไซโคลน

เตรียมตัวอย่างไร? เมื่อต้องเผชิญกับพายุไซโคลน

YOUTUBE: Understanding tropical cyclone categories

พายุไซโคลน แค่ได้ยินชื่อก็คาดวาแต่ละคนก็คงจะนึกถึงภาพความเสียหายต่างๆที่เกิดขึ้นจากพายุนี้ โดยจากบทความที่แล้ว ’Queensland และ NSW เตรียมรับมือกับพายุหมุน Cyclone Oma’ หลายๆ คนที่เพิ่งเคยไปออสเตรเลียเป็นครั้งแรก อาจจะกังวลว่าควรทำอย่างไรถ้าต้องเผชิญกับพายุไซโคลน

สำหรับใครที่อยู่แถบชายฝั่งของ Queensland และ New South Wales ไม่ร้องแล้วนะคะ อย่ากังวลแต่อย่างใด เพราะเราได้นำวิธีเตรียมตัวรับมือกับพายุไซโคลนมาแบ่งปันกันแล้ว

พายุไซโคลนทางชายฝั่งตะวันออกซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาเกือบ 30 ปีแล้วตั้งแต่ปี 1990 ได้ก่อตัวและอาจเป็นอันตรายต่อผู้คนและทรัพย์สินได้ วิธีต่อไปนี้จะช่วยให้คุณรู้ได้ว่าควรรับมืออย่างไรถ้าต้องเจอกับสถานการณ์จากพายุไซโคลน

ก่อนเกิดพายุไซโคลน

     จัดการกับบ้าน

  • ปรึกษากับสภาท้องถิ่นว่าบ้านของคุณสร้างขึ้นตามมาตรฐานในการรับมือกับพายุไซโคลนหรือไม่
  • ตรวจสอบประกันภัยที่คุณมีว่าครอบคลุมสำหรับความเสียหายจากน้ำท่วม พายุไซโคลนและพายุอื่นๆ หรือไม่ รวมถึงครอบคลุมการทำความสะอาดและกำจัดเศษขยะ
  • ตรวจสอบหลังคาบ้านและซ่อมแซมหากมีกระเบื้อง ชายคาบ้าน หรือสกรูบนหลังคาที่หลุดหลวม
  • ตรวจเช็คว่าหน้าต่างทุกบานมีการติดตั้งบานประตูหน้าต่างหรือแผงกำบังแบบโลหะ
  • ตัดกิ่งไม้ที่ยื่นออกมาภายในบริเวณบ้าน และล้างเศษขยะและเศษใบไม้ในรางน้ำ
  • ติดตามสัญญาณเตือนภัยฉุกเฉินจาก Standard Emergency Warning Signal (SEWS) ซึ่งโดยทั่วไปจะออกอากาศก่อนเกิดพายุไซโคลน 12 ชั่วโมงหรือน้อยกว่านั้น
  • แพลนล่วงหน้าว่าคุณจะดูแลสัตว์เลี้ยงของคุณอย่างไร และจะทำอย่างไรถ้าต้องทิ้งมันไว้ที่บ้าน

สิ่งที่ควรทำหลังได้ยินสัญญาณเตือนภัย

  • ติดตามข่าวจากวิทยุท้องถิ่น โดยแนะนำให้ใช้วิทยุที่ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ในกรณีที่อาจเกิดไฟฟ้าดับ และให้อัพเดตสถานการณ์จากสื่อโซเชียลมีเดียของสำนักข่าวต่างๆ เสมอ
  • หาข้อมูลเกี่ยวกับพายุไซโคลนจากเว็บไซต์สำนักอุตุนิยมวิทยา : Bureau of Meteorology
  • ตรวจเช็คความพร้อมของอุปกรณ์ยังชีพฉุกเฉินแบบพกพา
  • แจ้งให้เพื่อนบ้านทราบถึงสัญญาณเตือนภัยจากพายุไซโคลน
  • จัดการกับสิ่งของทั้งหมดที่อยู่นอกบ้าน รวมถึงย้ายเฟอร์นิเจอร์กลางแจ้ง ของเล่นเด็ก และอุปกรณ์ทำสวนเข้ามาภายในบ้าน หรือเข้ามาในบริเวณที่มีหลังคาปกคลุม
  • ย้ายพาหนะยานยนต์ รวมถึงจักรยานเข้ามาใต้หลังคา
  • สำรองน้ำใส่ถังหรืออ่างน้ำให้เต็ม ในกรณีที่บ้านของคุณอาจถูกตัดน้ำประปา โดยเช็คให้แน่ใจว่าคุณมีน้ำสะอาดสำรองไว้พอใช้
  • ถ้าหน้าต่างที่บ้านติดตั้งบานประตูหน้าต่าง ตรวจเช็คว่าได้ปิดหน้าต่างให้เรียบร้อยทุกบ้าน แต่ถ้าไม่ได้ติดตั้งบานประตูหน้าต่าง ให้ใช้เทปกาวที่มีความแข็งแรงติดพาดกับบานหน้าต่าง ซึ่งจะช่วยให้กระจกหน้าต่างที่แตกไม่กระจายตัวออก
  • ดูแลให้สัตว์เลี้ยงและลูกๆ ของคุณอยู่ภายในบ้านเสมอ
  • บอกกับคนรอบข้าง ครอบครัว และเพื่อนๆ เสมอว่าคุณอยู่ที่ไหนหรือจะไปที่ไหน

ระหว่างเกิดพายุไซโคลน

กรณีที่อาศัยอยู่ในบ้าน

  • ปิดแก๊ส น้ำประปา ไฟฟ้า รวมถึงถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมด
  • เก็บชุดอุปกรณ์ยังชีพฉุกเฉินของคุณไว้ใกล้ตัว
  • พาครอบครัวของคุณไปอยู่ในที่ปลอดภัยและแข็งแรงที่สุดของบ้าน
  • อัพเดตสถานการณ์ของพายุไซโคลนผ่านทางวิทยุเสมอ
  • ถ้าอาคารหรือบ้านที่อยู่มีท่าทีจะเริ่มพังลงมา ให้หลบอยู่ใต้โต๊ะ ม้านั่ง หรือฝูกนอนที่มีความแข็งแรง
  • เฝ้าระวังและให้อยู่แต่ภายในบ้านจนกว่าพายุจะสงบ

เมื่อมีคำสั่งให้อพยพอย่างเป็นทางการ

  • ปฏิบัติตามอย่างทันที โดยพาตัวคุณและครอบครัวไปอยู่ในศูนย์พักพิงที่มีความปลอดภัย หรืออาศัยในอาคารที่อยู่บนพื้นที่สูง
  • เช็คว่าเพื่อนบ้านของคุณได้รับข้อมูลที่อัพเดตแล้ว
  • ปิดแก๊ส น้ำประปา ไฟฟ้า รวมถึงถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมด
  • ล็อคประตูให้เรียบร้อย
  • ดูให้แน่ใจว่าทุกคนในบ้านได้สวมรองเท้าที่แข็งแรงพอและใส่เสื้อผ้าที่เหมาะสม
  • เตรียมอุปกรณ์ยังชีพฉุกเฉินแบบพกพาให้พร้อมสำหรับการเริ่มอพยพ
  • ถ้าคุณเพิ่งมาจากนอกเมือง ทางสภาท้องถิ่นหรือหน่วยงานฉุกเฉินจะช่วยแนะนำทางเลือกที่ดีที่สุดในการอพยพให้แก่คุณ
  • ถ้าไม่สามารถพาสัตว์เลี้ยงอพยพออกไปด้วย ให้ปล่อยสัตว์เลี้ยงของคุณไว้ที่ปลอดภัยภายในบ้าน เช่น โรงรถ หรือห้องซัดรีด ห้ามล่ามมันไว้เด็ดขาด และเตรียมน้ำ อาหารให้เพียงพอ
  • ถ้าเจอกับพายุไซโคลนในขณะที่ขับรถอยู่ ให้รีบจอดในจุดที่ปลอดภัยห่างจากต้นไม้ สายไฟ และบริเวณที่มีน้ำ และอยู่แต่ภายในรถเท่านั้น
  • ใจเย็นๆ และติดตามข่าวสาร อัพเดตสถานการณ์จากวิทยุ หรือผ่านทางโซเชียลมีเดียเสมอ
  • ถ้าปลอดภัยแล้วให้ติดต่อกับทางวิทยุท้องถิ่นเพื่อแจ้งสถานการณ์ จะช่วยให้เพื่อนบ้านของคุณสามารถเตรียมพร้อมรับมือกับพายุได้

หลังจากเกิดพายุไซโคลนแล้ว

  • แม้พายุจะผ่านไปแล้ว แต่สถานการณ์หลังจากพายุที่เพิ่งเกิดจะยังคงอันตรายอยู่
  • การบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากพายุมักเกิดขึ้นหลังจากนั้น เพราะผู้คนมักจะออกไปสำรวจความเสียหายหลังจากที่พายุเพิ่งผ่านไป
  • ติดตามสถานการณ์จากวิทยุและอยู่แต่ภายในอาคารจนกว่าเจ้าหน้าที่จะแจ้งให้ทราบว่าปลอดภัยแล้ว
  • ถ้าคุณจะกลับบ้านให้กลับทางที่ได้รับการแนะนำเท่านั้น
  • ไม่ออกไปข้างนอกเพื่อดูพายุหรือความเสียหายอะไรทั้งนั้น
  • เช็คความปลอดภัยของครอบครัว เพื่อนๆ และเพื่อนบ้านของคุณด้วย
  • ตรวจเช็คอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เปียกน้ำก่อนจะใช้
  • ให้ต้มน้ำหรือกรองน้ำที่จะใช้ก่อนจนกว่าจะได้รับการประกาศว่าน้ำประปาปลอดภัยแล้ว
  • อยู่ให้ห่างจากสายไฟที่ชำรุด ต้นไม้ที่ล้ม หรือน้ำท่วมขัง
  • ถ้าบ้านของคุณเสียหายจนไม่สามารถอยู่อาศัยได้แล้ว ให้ติดต่อกับสภาท้องถิ่นเพื่อขอความช่วยเหลือ
  • ในกรณีที่พลัดจากครอบครัวหรือเพื่อน สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ที่ Register.Find.Reunite

 

ข้อมูลพายุไซโคลนจาก Bureau of Meteorology / IMAGE : BoM

 

หน่วยงานให้บริการเหตุฉุกเฉินจากพายุไซโคลน

 

Sorce: ABC News

อ่านบทความอื่นๆที่น่าสนใจ คลิก