Beyond Study Center เราให้คำปรึกษาการศึกษาต่อทุกระดับ สมัครเรียน ทำวีซ่า จองตั๋วเครื่องบิน ดูแลตลอดการเดินทาง
ขอวีซ่านักเรียนต้องใช้หลักฐานการเงินหรือผลสอบภาษาหรือไม่
พี่ๆ Beyond Study Center ได้รับคำถามจากน้องๆ เข้ามากันเยอะมากเกี่ยวกับเลเวลของประเทศของนักเรียนและความเสี่ยงของสถาบัน วันนี้เราเลยมาสรุปให้น้องๆ ทุกคนอีกครั้งค่ะ
.
การขอวีซ่านักเรียนออสเตรเลียสำหรับประเทศไทย (เลเวล ❸)
1) ประเทศออสเตรเลียใช้วิธีการขอวีซ่านักเรียนชื่อ SSVF หรือ Streamlined Student Visa Framework
2) ระบบนี้แบ่งความเสี่ยงด้าน immigration ของประเทศของนักเรียนและความเสี่ยงของสถาบันออกเป็น 3 ระดับ เป็นระดับ ❶ – ❸ ซึ่งการจับคู่ของประเทศและสถาบันจะมีผลกับเอกสารที่ต้องยื่นในการขอวีซ่า
3) โดย
❶ แปลว่าเสี่ยงน้อยสุด
❷ เสี่ยงกลางๆ
❸ เสี่ยงมากสุด
3) ณ ปัจจุบันไทยเป็น level ❸ ถือว่าเสี่ยงมากสุด (May 2024)
4) การจับคู่ประเทศ level ❸ กับสถาบันที่ความเสี่ยงในระดับ ❶ เท่านั้น จึงจะนับเป็นการขอวีซ่าแบบ “streamlined” คือ ไม่ต้องยื่นหลักฐานการเงิน และคะแนนภาษาในการยื่นวีซ่าได้
**แต่ในส่วนของการสมัครเรียน ขึ้นอยู่กับทางสถาบันว่าจะขอผลคะแนนและหลักฐานการเงินหรือไม่
5) กรณีไปจับคู่กับสถาบัน level ❷ หรือ ❸ เราจะนับเป็นการขอวีซ่าแบบ “regular” ซึ่งตรงนี้ต้องมีผลภาษา และการเงินด้วย (แล้วแต่คอร์ส เช่น ถ้าคอร์สภาษาไม่ต้องยื่นผลภาษา ยื่นแค่การเงิน แต่กรณียื่นเรียน Diploma/Master แม้สถาบัน/มหาวิทยาลัย ตอบรับเข้าเรียนโดยไม่มีเงื่อนไขแล้ว ก็ยังต้องมีผลตอนยื่นวีซ่า ซึ่งจะมีผลกับระยะเวลาเรียนภาษาด้วย)
6) ข้อนี้สำคัญ** เจ้าหน้าที่พิจารณาวีซ่า มีสิทธิ์ขอหลักฐานเพิ่มเติมได้ หากเห็นสมควร** (ทางเราจึงแนะนำให้ยื่นหลักฐานการเงินด้วยเสมอ แต่หากเลือกแบบ streamlined สามารถยื่น Bank Guarantee ได้)
7) เช่นเดียวกับตอนสมัครเรียนอาจจะมีบางสถาบันที่จะขอหลักฐานการเงินเสมอ (แม้จะเป็น streamlined) ขึ้นอยู่กับหลายๆ ปัจจัย
ดังนั้นอย่างที่ Beyond Study Center เองก็จะดูเอกสารและคุยกับทางสถาบันให้ ทั่วไปก็จะแนะนำว่าถ้ามีแบบมีเงิน ให้แสดงยอดเงินไปเลยแต่แรก ถึงแม้ว่าอาจจะไม่ถูกขอดู (โดยเฉพาะถ้ายื่นขอวีซ่าจากที่ไทย ซึ่งจะเข้มกว่าเวลายื่นขอที่ออสเตรเลีย)
9) โดยปกติระบบนี้จะเปลี่ยนเลเวลกันทุก 6 เดือน (ช่วงเดือนมีนาคมและกันยายน) ดังนั้นต้องคอยอัปเดตกันนะคะ
10) สรุปโดยรวมแล้ว ทางเจ้าหน้าที่จะพิจารณาจากประวัติของนักเรียนและเอกสารที่ใช้ยื่นอีกที ดังนั้นต้องมาดูรายละเอียดเป็น case by case อีกทีค่ะ
11) สำหรับการเงินที่ต้องแสดงให้สถานทูตเห็นว่ามีเงินเพียงพอในการใช้ชีวิตระหว่างที่ถือวีซ่านักเรียนสามารถดูตัวอย่างได้ตามรูปด้านล่างค่ะ
11) สำหรับการเงินที่ต้องแสดงให้สถานทูตเห็นว่ามีเงินเพียงพอในการใช้ชีวิตระหว่างที่ถือวีซ่านักเรียนสามารถดูตัวอย่างได้ตามรูปด้านล่างค่ะ
ตัวอย่างการคำนวณ Financial Capacity สำหรับวีซ่านักเรียนออสเตรเลีย เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 10 May 2024 ค่ะ
Financial Capacity ในการยื่นวีซ่านักเรียนที่เริ่มปรับใช้วันนี้ จะมีรายละเอียดหลายส่วนที่ต้องนำมาคำนวณด้วย ทาง Beyondstudy สรุปตัวอย่างในหลายๆกรณีมาให้ดูกันค่ะ
1. Living costs ต่อปี : คำนวณหนึ่งปี หรือตามระยะเวลาที่ได้วีซ่า**
หากระยะวลาวีซ่าไม่ถึงหนึ่งปีค่ะ
รายละเอียดจะมีดังนี้ค่ะ
– students – AUD29,710
– ผู้ติดตาม (partners) ที่มากับนักเรียนด้วย – AUD10,394
– ผู้ติดตาม (child) ที่มากับนักเรียนด้วย – AUD4,449 (ต่อ 1 คน)
**อายุวีซ่าในที่นี้นับตั้งแต่วันคอร์สเริ่มจนวันหมดวีซ่า – ในทางปฎิบัติจริงจะใช้วีซ่าได้ตั้งแต่ grant เลย
2) Course fees : ค่าเรียนส่วนที่ยังไม่ได้จ่ายในปีแรก
ในส่วนนี้สมมติค่าเทอมปีละ
AUD40,000 ในมหาวิทยาลัย เราจ่ายแล้ว AUD20,000 สำหรับเทอมแรก คอร์สยาวสองปี
ก็จะนำส่วนที่ยังไม่ได้จ่ายในปีแรกคือ AUD20,000 มาคำนวณด้วย เป็นต้นค่ะ
3) Schooling costs
สำหรับกรณีที่มีผู้ติดตามที่เป็นเด็กในวัยเรียน (school-age children)
ปีละ AUD13,502 ค่ะ
4) Travel costs
รายละเอียดที่ทาง Department of Home Affairs สรุปให้จะมีดังนี้ค่ะ
AUD2,500 for travel costs if you are applying from East or Southern Africa
AUD3,000 for travel costs if you are applying from West Africa
AUD2,000 for travel costs if you are applying from anywhere else outside Australia
AUD1,000 for travel costs if you are applying in Australia. If you will be returning to Africa include AUD1,500
นั่นคือถ้ายื่นในไทยก็จะคิดที่ AUD2,000 ต่อคน
ถ้ายื่นในออสเตรเลียก็จะคิด AUD1,000 ต่อคนค่ะ
สำหรับในภาพจะเป็นตัวอย่างในกรณีต่างๆดังนี้นะคะ
1) ภาพสีฟ้า : offshore ยื่นจากไทย เลือกเรียนคอร์สต่างๆกัน ไม่มีผู้ติดตาม
2) ภาพสีชมพู : onshore ยื่นในออสเตรเลีย เลือกเรียนคอร์สต่างๆกัน มีผู้ติดตาม 1 คน และมีผู้ติดตาม 2 คน (แบบ partner + non school-age child)
ใครที่ใกล้เคียงกับกรณีไหนลองเทียบกันดูได้นะคะ
รายละเอียดที่ควรทราบเพิ่มเติมค่ะ
– ถ้าวีซ่ายาวไม่ถึงปี การคำนวณค่าครองชีพก็จะถูกหารลงไปตามระยะเวลาวีซ่าที่ได้รับ
– ถ้าวีซ่ายาวเกิน 1 ปี จะคำนวณค่าครองชีพแค่ 1 ปีเท่านั้น