Beyond Study Center เราให้คำปรึกษาการศึกษาต่อทุกระดับ สมัครเรียน ทำวีซ่า จองตั๋วเครื่องบิน ดูแลตลอดการเดินทาง

7 ข้อมูลที่ควรรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการทำงานในออสเตรเลียแบบถูกกฎหมาย (ปีภาษี 2023-24)

7 ข้อมูลที่ควรรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการทำงานในออสเตรเลียแบบถูกกฎหมาย (ปีภาษี 2023-24)

1) ประเภทของการจ้างงานในออสเตรเลีย การจ้างงานจะแบ่งออกเป็น

1.1 Full time – ทั่วไปจะทำกันที่ 38 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์ พนักงานจะได้สิทธิ์ลาหยุดประจำปีและสวัสดิการต่างๆ ด้วย

1.2 Part time – ได้ทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ตกลงกันไว้กับนายจ้าง และได้สิทธิ์ต่างๆเป็นสัดส่วนที่ลดลงของ full time (pro rata) เช่น สมมติที่บริษัทนี้ ทำงาน full time 38 ชั่วโมง กรณี part time 24 ชั่วโมง ก็คิดเป็นได้สิทธิ์ลาหยุดราวๆ 63.15% ของ full time

1.3 Casual – จะเหมือนลูกจ้างรายวัน คือถ้านายจ้างบอกวันนี้ไม่มีงานก็ไม่ต้องให้มาก็ได้ จะไม่ได้สิทธิ์หลายอย่างเหมือนแบบ full time / part time แต่จะได้รับค่าแรงเพิ่มชดเชยความเสี่ยงตรงนี้ไปอีก 25% ของค่าแรงปกติ

1.4 นอกจากนั้นก็มีประเภทอื่นๆ เช่น Contract แต่ส่วนมากวีซ่านักเรียนก็จะทำแบบ part time หรือ casual กันมากกว่า

2) ค่าแรงขั้นต่ำ

– ค่าแรงขั้นต่ำ 23.23 ดอลต่อชั่วโมง (ของแบบ part time/full time)

– ค่าแรงขั้นต่ำแบบ casual 23.23 x 1.25 = 29.04 ดอลต่อชั่วโมง

– ถ้าทำงานใน วันหยุดนักขัตฤกษ์ วันเสาร์-อาทิตย์ ทำงานล่วงเวลา ทำงานจนถึงดึกมากหรือเริ่มงานเช้ามาก ก็จะได้เรทพิเศษเพิ่มไปอีก

3) Superannuation

 Superannuation เงินเกษียณขั้นต่ำที่ทางรัฐบาลบังคับให้นายจ้างจ่ายให้พนักงาน คิดเป็น 11% ของค่าแรงที่ได้ นายจ้างต้องจ่ายให้เข้า super account ของพนักงานเพิ่มขึ้น 11% ของเงินที่ได้ (สำหรับ 11% นี้ไม่ใช่หักจากค่าแรงของพนักงานแต่นายจ้างจ่ายเพิ่มขึ้นอีกจากปกติ)

4) การคุ้มครองตามการกฎหมายแรงงาน

– ทุกคนในออสเตรเลียที่มีสิทธิ์ทำงานได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายแรงงาน รวมถึง student, working holiday makers

– เรื่องค่าแรงขั้นต่ำ และ Superannuation จะเป็นการใช้ Tax File Number (TFN) ในการทำงาน

– กรณีใช้ Australian Business Number (ABN) เราจะถูกมองเป็นเหมือนหน่วยธุรกิจ จึงมักจะแล้วแต่ตกลงกัน ไม่ได้ตาม minimum wage (ยกเว้นรัฐมีข้อกำหนดพิเศษขึ้นมา)

5) Payslip และการเข้าใจรายละเอียด

– เมื่อได้รับการจ่ายเงินจะได้รับ payslip เป็นหลักฐาน ระบุรายละเอียดต่างๆ รวมถึง เงิน , จำนวนชั่วโมงที่ทำ , super ที่ได้, ภาษีที่โดนหักไป และอื่นๆ

– นายจ้างจะหัก PAYG (Pay as you go) เป็น withholding tax ไว้ (ภาษีหัก ณ ที่จ่าย) เพื่อนำส่ง ATO รายได้ที่เราได้รับปกติจึงมักจะเป็น Net income ที่หักภาษีแล้ว

– ส่วนที่หักไว้ปกตินายจ้างมักจะใช้ accounting software คำนวน สามารถดูจาก weekly tax table หรือ calculator ใน application ของ ATO ได้ว่านายจ้างต้องหักเท่าไหร่

6) tax free threshold

– หลายๆวีซ่าชั่วคราว รวมถึงนักเรียนถ้าาคุณสมบัติครบจะมี tax free threshold (ช่วงรายได้เว้นภาษี) นั่นคือรายได้ทั้งปีภาษีจะมีช่วง 18,200 ดอลแรก

– ตรวจสอบตรงนี้ได้โดยทำ tax residency test ในเว็บ ATO

– ตรงนี้สมมติถูกหัก PAYG ไปก่อน ในส่วนภาษีของ 18,200 ดอลแรกที่โดนหักไปปกติก็จะเคลมคืนได้

– wah ไม่มี tax free threshold และเสียตั้งแต่ดอลแรกที่ 15% (ที่คืนได้ของ WAH ปกติจะเป็นการลดหย่อน)

7) การคำนวนภาษี

– ภาษีปลายปีเรามาคำนวนอีกที : กรณีที่โดนหัก PAYG เยอะไป = เคลมคืน , หักขาด = จ่ายเพิ่ม

– เยอะหรือน้อยไปจะดูจากรายได้รวมทั้งปีค่ะ และเทียบกับตาราง tax rate ของ ATO ซึ่งจะแยกเป็น bracket คือเสียภาษีตามช่วงรายได้เป็นขั้นบันได

– ภาษีตามเรทที่ต้องจ่ายจะตามรายได้ เช่น 15% ของ wah ในช่วงรายได้ 0-45,000 ดอลแรก ถ้าได้ทั้งปีที่ 45,000 ดอล ก็เสีย 15% = 6,750 ดอล ส่วนนี้สมมตินายจ้างหัก PAYG ไปถูกแล้วที่ 6,750 ดอล = ไม่สามารถเคลมคืนได้ เป็นต้นค่ะ

– ปีภาษีคือ 1 July – 30 June ของปีถัดไป

– ช่วงยื่นภาษีคือ 1 July – 31 Oct เช่น

ช่วงยื่นภาษีของรายได้ที่ได้ในปี 2022-23 (1 Jul 22- 30 June 23) คือ 1 July – 31 Oct 23


สำหรับใครที่ไม่สะดวกทำเรื่องเองอยากใช้บริการบริษัทบัญชีทำเรื่องให้ทั้งเคลมภาษีและเคลม Superannuation โดยมีเจ้ากน้าที่คนไทยดูแล สามารถติดต่อ Thai Tax แล้วแจ้งทีมงานว่าทาง Beyond Study Center แนะนำมาก็จะได้ส่วนลดราคาพิเศษค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง

วิธีคำนวนภาษีสำหรับวีซ่านักเรียน

ขั้นตอนการสมัคร myGov account และ เชื่อมต่อบัญชีกับ ATO เพื่อดูข้อมูลรายได้และการทำเรื่องเคลมภาษีคืน

ขั้นตอนการสมัคร TFN – Tax File Number ด้วยตัวเองเมื่อไปถึง Australia

Australian Business Number (ABN) คืออะไร? ต้องมีไหม?

Superannuation เงินสะสมหลังเกษียณ คืออะไร? ต้องมีไหม?