Beyond Study Center เราให้คำปรึกษาการศึกษาต่อทุกระดับ สมัครเรียน ทำวีซ่า จองตั๋วเครื่องบิน ดูแลตลอดการเดินทาง

วิธีคำนวนภาษีสำหรับวีซ่านักเรียน

วิธีคำนวนภาษีสำหรับวีซ่านักเรียน

สำหรับวีซ่านักเรียนเราจะมีสิ่งที่ต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับภาษีจากการทำงานในออสเตรเลียเบื้องต้นดังนี้ค่ะ

1. ปีภาษีของออสเตรเลีย

เริ่มตั้งแต่ 1 July ไปจนถึง 30 June ของปีถัดไป ดังนั้นเวลาคำนวณรายได้ที่นำมาคำนวณคิดภาษีในแต่ละปีคือรายได้ในช่วงเวลาที่ว่ามานี้

2. tax free threshold 

คือช่วงยกเว้นภาษี บางวีซ่ามี tax free threshold ในขณะที่บางวีซ่าก็ไม่มี tax free threshold

ปัจจุบันสำหรับกรณีที่เรามี tax free threshold คือเราจะได้ยกเว้นภาษีในรายได้ 18,200 ดอลล์แรก กรณีที่มีนายจ้างมากกว่า 1 แห่ง เราจะเลือกให้ Tax Free Threshold กับนายจ้างได้แค่แห่งเดียวเท่านั้น เรียกที่ทำงานนั้นว่า first job ส่วนกับนายจ้างและที่ทำงานที่อื่นๆจะเรียกว่า second job ทั้งหมด 

second job คือโดนหักภาษีไปก่อนตั้งแต่ดอลล์แรกเลย ไม่มี tax free threshold แต่สุดท้ายไปรวมยอดรายได้ทั้งหมดทุกแห่งรวมกันตอนสิ้นปีภาษีแล้วทำเรื่องเพื่อเคลมภาษีคืนหรืออาจจะจ่ายภาษีเพิ่มอยู่ดี ไม่ได้โดนหักเสียเปล่าไปเลย ดังนั้นถ้าเราทำงานที่ก็เลือกดูว่าอยากจะให้ที่ไหนเป็น first job ได้ค่ะ 

3. Tax residency status

ถ้าเป็นวีซ่านักเรียน วีซ่าและคอร์สเรียนยาวเกิน 6 เดือน โดยทั่วไปแล้วจะถือว่าเราเป็น Australian resident for tax purposes และมี tax free threshold ซึ่งเป็นเรทภาษีเดียวกับชาวออสเตรเลีย (มีที่ต้องจ่ายไม่เหมือนกันบ้างเล็กน้อย) กรณีที่เราไม่ใช่ resident for tax purpose เช่นถือวีซ่าชนิดอื่นๆ หรือเรียนน้อยกว่า 6 เดือน เราอาจจะไม่มี tax free threshold และต้องเสียภาษีอีกเรทนึงไปเลย

สามารถลองทำเทสเพื่อดู tax residency status ได้ที่นี่ค่ะ https://www.ato.gov.au/individuals-and-families/coming-to-australia-or-going-overseas/your-tax-residency#Residencytests

4. เรทเสียภาษีในออสเตรเลีย (2023 – 2024)

เราจะเสียภาษีเป็นขั้นบันได ยิ่งรายได้เยอะก็เสียภาษีเยอะ ดังรูปต่อไปนี้ค่ะ

Australian residents tax rates 2023 to 2024

รูปภาพจาก https://www.ato.gov.au/tax-rates-and-codes/tax-rates-australian-residents

อธิบายดังนี้ค่ะ (Australian residents tax rates 2023–24)

รายได้

0 – $18,200 = ไม่เสียภาษี (tax free threshold)

$18,201 – $45,000 = เสียภาษี 19% ทุกๆ 1 ดอลล์ที่เกินมาจาก $18,200

$45,001 – $120,000 = เสียภาษี 5,092 ดอลล์และเสียภาษีอีก 32.5% ของทุกๆ 1 ดอลล์ที่เกินมาจาก $45,000

$120,001 – $180,000 = เสียภาษี 29,467 ดอลล์และเสียภาษีอีก 37% ของทุกๆ 1 ดอลล์ที่เกินมาจาก $120,000

$180,001 and over = เสียภาษี 51,667 ดอลล์และเสียภาษีอีก 45% ของทุกๆ 1 ดอลล์ที่เกินมาจาก $180,000

 

สำหรับ Foreign residents tax rates 2023 to 2024 จะเห็นจากในรูปด้านล่างว่าเสียภาษีเริ่มต้นที่ 32.5% ตั้งแต่ดอลล์แรกเลยค่ะ

รูปภาพจาก https://www.ato.gov.au/tax-rates-and-codes/tax-rates-foreign-residents

5. PAYG 

คือ Pay as You Go เงินภาษีหัก ณ ที่จ่าย (withholding tax) ที่นายจัางต้องหักเงินไปก่อน ในแต่ละ payslip ที่ได้รับเงินเพื่อนำส่งให้กับ ATO ที่เป็นหน่วยงานดูแลเรื่องภาษีของรัฐบาลออสเตรเลีย

ซึ่งปกติแล้วใน payslip จะมีบอก

Gross pay : เงินรายได้เต็มรอบนั้น

Tax withheld (PAYG) : ภาษีที่หักไว้ก่อน

Net pay : รายรับสุทธิ

ปล. ปกติเราจะเห็นยอด superannuation ใน payslip ด้วยเช่นกันค่ะ แต่จะไม่ได้รับเงินเข้ามาในบัญชีธนาคารนะคะ ทางนายจ้างจะโอนเงินเข้าไปในบัญชี superannuation ของเราแทน

6. วิธีดูว่าแต่ละสัปดาห์เราจะโดนหัก PAYG เท่าไหร่เราทำได้สองแบบหลักๆค่ะ

a) แบบแรก ดูจาก Tax withheld calculator ของ mobile app ของ ATO

a1) เลือก Tax withheld calculator

a2.1) เลือกแบบ claim tax free threshold

หรือ

a2.2) เลือกแบบไม่ claim tax free threshold

a3) ระบบจะแสดงผลในแต่ละแบบว่า Gross pay เท่าไหร่ หักภาษี (ไปก่อน) เท่าไหร่ และ Net pay เหลือเท่าไหร่

b) หรือแบบที่สอง เลือกดูจาก Weekly tax table จะได้ตัวเลขเท่ากัน

https://caat-p-001.sitecorecontenthub.cloud/api/public/content/f695b8f3-ce06-4489-af12-bdd747f0d8b5_Weekly_tax_table_from_13_October_2020_pdf

กรณีเราเป็น resident for tax purpose และเลือก claim tax free threshold หรือเลือกไม่ claim ผลจะต่างกันค่ะ (อย่าลืมว่าเราสามารถเลือก claim tax free threshold ได้เฉพาะ first job ที่เดียว ตามที่อธิบายไว้ในข้อ 2 นะคะ ที่ทำงานที่เหลือก็จะ claim tax free threshold ไม่ได้ แต่ก็สามารถเอายอดทั้งหมดรวมกันแล้วไปทำเรื่องเคลมภาษีคืนได้ตอนสิ้นปีภาษี)

สมมติเราได้รายได้ตามขั้นต่ำ 23.23 ดอล ทำ 24 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์ = 557.52 AUD

ที่ทำงานที่เราเลือก claim tax free threshold เราจะโดนหักที่ 49 AUD

ที่ทำงานที่เราเลือกไม่ claim tax free threshold เราจะโดนหักที่ 130 AUD ค่ะ

ปกติแล้วพี่ๆทีมงาน Beyond Study Center จะแนะนำให้น้องๆนักเรียนของเราเลือก first job เป็นที่ทำงานที่น้องได้เงินเยอะที่สุด เพราะจะได้ claim tax free threshold ได้ — เท่ากับว่าที่ๆนั้นน้องจะโดนหัก PAYG น้อยกว่า ทำให้มีได้เงินก้อนใหญ่กว่ามาใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน แต่ถ้าใครเก็บเงินไม่เก่งแล้วอยากให้รัฐบาล หัก PAYG ไว้ก่อนเยอะๆ จะไม่เคลม claim tax free threshold กับที่ไหนเลยก็ได้ แล้วค่อยทำเรื่องเคลมภาษีคืนทีเดียวก็ได้เช่นกันค่ะ

 

7. Tax return 

คือตอนสิ้นปีภาษีแล้วเรามาดูว่า PAYG ที่ถูกนายจ้างหักไป กับภาษีที่ “ต้องเสียจริง” ตามข้อ 4 ว่าต่างกันเท่าไหร่

ถ้ากรณีถูกหัก PAYG ทั้งปีเยอะกว่าที่ต้องจ่ายในตารางภาษี ก็จะเคลมคืนได้

ถ้าถูกหักน้อยไปก็จะต้องจ่ายเพิ่มค่ะ

8. วิธีดูรายได้ ภาษี และ Superannuation

เราสามารถดูว่ารายได้รวมของในปีนี้ได้จาก

a) Payslip ล่าสุดของทุกนายจ้างมาบวกกันเพื่อดูยอดรวม

b) ดูจาก myGov account ของรัฐบาลออสเตรเลีย เพื่อดูยอดที่นายจ้างรายงานรายได้ นำส่งภาษีที่หักไว้ และเงิน Superannuation ก็ได้เช่นกันค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง

7 ข้อมูลที่ควรรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการทำงานในออสเตรเลียแบบถูกกฎหมาย (ปีภาษี 2023-24)

ขั้นตอนการสมัคร myGov account และ เชื่อมต่อบัญชีกับ ATO เพื่อดูข้อมูลรายได้และการทำเรื่องเคลมภาษีคืน

ขั้นตอนการสมัคร TFN – Tax File Number ด้วยตัวเองเมื่อไปถึง Australia

Australian Business Number (ABN) คืออะไร? ต้องมีไหม?

Superannuation เงินสะสมหลังเกษียณ คืออะไร? ต้องมีไหม?